

ภารกิจของเรา
ภายใต้ภารกิจของเรา ตลอดระยะเวลาที่ได้มีการจัดตั้งกลุ่มวิจัยจุลอุตุนิยมวิทยา เราได้ดำเนินโครงการและทำการศึกษาวิจัย 5 ประเด็นหลักดังนี้
-
การติดตั้งสถานีจุลอุตุนิยมวิทยาคุณภาพสูง และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อติดตั้งสถานีต้นทุนต่ำ
-
การพัฒนาแนวทางในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ทางการเกษตร
-
การศึกษาการตอบสนองของต้นไม้ในระบบนิเวศป่าไม้และพื้นที่ทางการเกษตร ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
-
การศึกษาการตอบสนองของผลผลิตทางการเกษตรต่อปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม และแนวทางในการบริหารจัดการน้ำและคาร์บอนในรายแปลง
-
การวิเคราะห์องค์ประกอบของสมดุลน้ำ สมดุลคาร์บอน สมดุลพลังงาน เพื่อพัฒนาการตรวจวัดทางด้านอุตุนิยมวิทยาให้มีความแม่นยำสูง
-
การสร้างบุคคลากรที่มีองค์ความรู้ ทักษะและความสามารถทางจุลอุตุนิยมวิทยาทั้งทางภาคสนาม ภาคทฤษฎี และการประยุกต์ใช้
ความร่วมมือและการสนับสนุน
กลุ่มวิจัยของเราได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ความร่วมมือ ตลอดไปจนถึงการอนุเคราะห์อุปกรณ์และสถานที่จากทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน การปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดไปจ นถึงชุมชนในพื้นที่ศึกษา ดังนี้
โครงการวิจัย (5 ปีย้อนหลัง)
2563
วช.
การประเมินประสิทธิภาพการใช้น้ำในพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ลุ่มน้ำโขงเหนือ กรณีศึกษานาแปลงใหญ่สันป่าตอง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
2564
สวก.
การบริหารจัดการน้ำยั่งยืนด้วยระบบอัจฉริยะ (Smart Water Solution ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในพื้นที่วิกฤตภัยแล้งซ้ำซากทางการเกษตร ลุ่มน้ำอิงตอนบน จังหวัดพะเยา
2565
FF, มหาวิทยาลัยพะเยา
การติดตามชีพลักษณ์ในนาข้าวโดยใช้ภาพถ่ายดิจิตอลเพื่อประเมินการตอบสนองการใช้น้ำของต้นข้าวนอกเขตชลประทาน
2563-2565
สกว., สกสว., วช.
การศึกษาการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และลักษณะทางชีวภาพ โดยใช้ดัชนีสีทรงพุ่มของพืชพรรณ ในระบบนิเวศป่าไม้ที่ละติจูดต่างกัน ตั้งแต่ทางใต้ของประเทศจีนถึงภูมิภาคอินโดจีน
2562
UOE, มหาวิทยาลัยพะเยา
อิทธิพลและวิธีการคัดกรองข้อมูลการพัดพาไอน้ำจากแหล่งกำเนิดภายนอกต่อการแลกเปลี่ยนไอน้ำในระบบนิเวศป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยพะเยา
2562
วช.
การประเมินองค์ประกอบของสมดุลน้ำ (water balance) สมดุลพลังงาน (energy balance) และสมดุลคาร์บอน (carbon balance) ในระบบนิเวศป่าต้นน้ำลุ่มน้ำอิงตอนบน (วช., 2562)
ผู้สนับสนุน











