

ฤดูกาลเพาะปลูกข้าวปี 2563 (Crop 2020)
สถานการณ์น้ำและข้าวในนาแปลงใหญ่บ้านสันป่าตอง

วิธีการอ่านค่า
-
สถานการณ์น้ำในนาข้าว ดูได้จากความสูงของน้ำในแปลงนา ถ้าระดับน้ำต่ำกว่าความยาวราก (ประมาณ 20 ซม.) เกษตรกรควรสูบน้ำเข้าแปลงนา
-
ระดับความสูงของต้นข้าวในแปลงนาจะบอกถึงระยะการเจริญเติบโตของข้าว (ข้าวสูงเต็มที่ 140-150 ซม.)
ข้อมูลวันนี้ (19 พ.ย. 2563)
ข้าวสูงเฉลี่ย 124.21 เซนติเมตร
ระดับน้ำในแปลงนา -41.0 เซนติเมตร
ความลึกราก -18.39 เซนติเมตร
**ข้าวอยู่ในระยะเก็บเกี่ยว**

ประสิทธิภาพการใช ้น้ำของข้าว

ค่าประสิทธิภาพการใช้น้ำ (Water use efficiency; WUE) คำนวณได้จากสัดส่วนปริมาณชีวมวลรวมของลำต้น ราก และรวงข้าว ต่อค่าการคายระเหยน้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูก โดยค่า WUE ของข้าวตลอดฤดูกาลอยู่ที่ 2.49 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หมายความว่าตลอด ฤดูกาลเพาะปลูก น้ำปริมาณน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร สามารถให้ผลผลิตข้าวอยู่ที่ 2.49 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
**ในระยะต้นอ่อนและระยะแตกกอ พบค่าการคายระเหยน้ำสูงกว่าปริมาณชีวมวล หมายความว่านาข้าวต้องการใช้น้ำเพื่อการคายระเหยในปริมาณมากในขณะที่ให้ผลผลิตน้อย**
สมดุลน้ำในนาข้าว

สมดุลน้ำตลอดฤดูกาล (หน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร/ไร่ )
ปริมาณน้ำที่เข้าแปลงนาทั้งหมด 1,137.2
ปริมาณน้ำฝน 361.9
ปริมาณน้ำสูบเข้าแปลงนาครั้งที่ 1 478.8
ปริมาณน้ำสูบเข้าแปลงนาครั้งที่ 2 296.4
ปริมาณน้ำที่ใช้ในนาข้าว 414.9
ปริมาณการคายระเหยน้ำ 414.5
ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือ 722.2
ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือ คือ ปริมาณน้ำซึมลึกและน้ำที่อยู่บนผิวดินในแปลงข้าวบ้านสันป่าตองซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เนื่อง จากเป็นระบบเปิดที่ปล่อยให้น้ำไหลผ่านจากแปลงหนึ่งสู่อีกแปลงหนึ่ง ซึ่งน้ำส่วนนี้เกษตรกรสามารถน้ำไปใช้ประโยชน์ได้ หากมีระบบการจัดการน้ำในแปลงนาที่ดี
ผู้สนับสนุน
ผลงานวิจัยนี้อยู่ภายใต้โครงการ "การประเมินประสิทธิภาพการใช้น้ำในพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ลุ่มน้ำโขงเหนือ กรณีศึกษานาแปลงใหญ่สันป่าตอง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา" สนับสนุนงบประมาณโดยสำนักงานการวิจ ัยแห่งชาติ (วช.) ปีงบประมาณ 2563






